Saturday, September 11, 2010

สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2 (เมษายน — มิถุนายน) พ.ศ. 2553(อุตสาหกรรมยานยนต์)

สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2 (เมษายน — มิถุนายน) พ.ศ. 2553(อุตสาหกรรมยานยนต์)

ข่าว เศรษฐกิจ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม -- พฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม 2553 15:43:59 น.
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2553 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..) (การปรับปรุงโครงสร้างภาษีศุลกากรวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตที่นำมาใช้สำหรับ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์) และให้ส่งร่างประกาศฯ ให้คณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจ พิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยมีสาระสำคัญของร่างประกาศฯ ดังนี้ (ที่มา : www.thaigov.go.th)
- ยกเว้นอากรขาเข้าเป็นการเฉพาะสำหรับวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตที่นำเข้ามา เพื่อใช้ผลิตหรือประกอบเป็นส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ประกอบของรถยนต์หรือยาน ยนต์ตามประเภท 87.01 ถึงประเภท 87.06 จำนวน 15 ประเภทย่อย โดยสินค้าในกลุ่มเหล็กตอนที่ 72 จำนวน 2 ประเภทย่อย คือประเภทย่อย 7228.30.10 และประเภทย่อย 7228.30.90 เสนอให้ยกเว้นอากรขาเข้าเป็นการชั่วคราวเป็นเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย ส่วนเหล็กในประเภทย่อย 7214.99.90 เสนอให้ยกเว้นอากรขาเข้าเป็นระยะเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย สำหรับเหล็กชั้นคุณภาพมาตรฐานญี่ปุ่น JIS G 4051 และให้ยกเว้นอากรขาเข้าเป็นระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย สำหรับเหล็กชั้นคุณภาพมาตรฐานญี่ปุ่น JIS G 4052 เนื่องจากผู้ประกอบการผลิตเหล็กในประเทศมีแผนที่จะศึกษาและพัฒนาการผลิต เหล็กที่มีคุณลักษณะตามประเภทดังกล่าวในอนาคต
- ยกเว้นอากรขาเข้าเป็นการเฉพาะสำหรับเหล็กและของที่ทำด้วยเหล็กกล้าที่นำเข้า มาเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ จำนวน 20 ประเภทย่อย เป็นระยะเวลา 5 ปีนับตั้งแต่วันที่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย ยกเว้นเหล็กแผ่นเคลือบประเภทกัลวานีล จำนวน 3 ประเภทย่อย คือ ประเภทย่อย 7210.49.10 ประเภทย่อย 7210.49.20 และประเภทย่อย 7210.49.90 ซึ่งผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศมีแผนที่จะดำเนินการลงทุนผลิตเหล็ก ประเภทดังกล่าว เป็นระยะเวลา 3 ปี จึงเสนอให้ยกเว้นอากรขาเข้าเหล็กทั้ง 3 ประเภทย่อยดังกล่าว เป็นระยะเวลา 3 ปีนับตั้งแต่วันที่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย
- ยกเว้นอากรขาเข้าเป็นการเฉพาะสำหรับเหล็กและของที่ทำด้วยเหล็กกล้าที่นำเข้า มาเพื่อใช้ผลิตหรือประกอบเป็นส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ประกอบของรถยนต์หรือยาน ยนต์ตามประเภท87.01 ถึงประเภท 87.06 และที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์จำนวน 5 ประเภทย่อย เป็นระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย ยกเว้นลวดเหล็กกล้าไร้สนิมและลวดที่ทำด้วยเหล็กกล้าเจืออื่น ๆ ชนิดตันตลอดความยาวตามประเภทย่อย 7223.00.90 และ 7229.90.00 ซึ่งผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศมีแผนที่จะศึกษาและพัฒนาเพื่อผลิต เหล็กประเภทดังกล่าวในอนาคต จึงเสนอให้ยกเว้นอากรขาเข้าเหล็กทั้ง 2 ประเภทย่อย ที่มีคุณลักษณะดังกล่าวเป็นระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่มีผลใช้ผลบังคับใช้ทางกฎหมาย
- ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตตามประเภทย่อย 5806.32.10 และประเภทย่อย 5806.32.90 ที่นำเข้ามาเพื่อใช้ผลิตหรือประกอบเป็นเข็มขัดนิรภัยตามประเภทย่อย 8708.21.10 และประเภทย่อย 8708.21.90 หรือถุงลมนิรภัยตามประเภทย่อย 8708.95.10
- ปรับลดอัตราอากรขาเข้าเป็นการเฉพาะลงเหลือร้อยละ 5 สำหรับวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตในกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ประเภท 87.08 ที่นำเข้าเพื่อใช้ผลิตหรือประกอบเป็นส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ประกอบของรถยนต์ หรือยานยนต์ตามประเภท 87.01 ถึงประเภท 87.06 จำนวน 21 ประเภทย่อยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการผลิตรถ แทรกเตอร์ในประเทศ และแก้ไขปัญหาความลักลั่นของโครงสร้างภาษีนำเข้าระหว่างสินค้าที่เป็นวัตถุ ดิบและสินค้าสำเร็จรูป เนื่องจากรถแทรกเตอร์สำเร็จรูป อัตราอากรขาเข้าปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 5 ในขณะที่ชิ้นส่วนที่นำเข้ามาเพื่อผลิตรถยนต์ประเภทดังกล่าวในประเทศ อัตราอากรขาเข้าที่ปรับลดเป็นการเฉพาะปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 10
สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศใน ช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 มีโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 22 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวม 4,551.40 ล้านบาท ชะลอตัวจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 35.52 ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นกว่า 2,181 คน สำหรับไตรมาสนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า 500 ล้านบาท จำนวน 3 โครงการ ประกอบด้วย 1)โครงการผลิตยางนอกรถจักรยานยนต์ ของนางพิมพ์ใจ เหล่าจินดา เงินลงทุน 577.60 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 212 คน 2) โครงการผลิตชิ้นส่วนล็อคสำหรับยานพาหนะ ของบริษัท มิตซุย คอมโพเนนท์ส จำกัด เงินลงทุน 742 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 100 คน และ 3) โครงการผลิตชิ้นส่วนโลหะยานพาหนะ ของ บริษัท ไดอะ โทเดิร์น เอ็นจีเนียริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 767,70ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 55 คน (รวบรวมข้อมูลจาก www.boi.go.th)
อุตสาหกรรมรถยนต์โลก (รวบรวมข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2553)
- อุตสาหกรรมรถยนต์โลกในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 (ม.ค.-มี.ค.) มีปริมาณการผลิตรถยนต์ 17,955,546 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 55.50 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 13,524,758 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 4,430,788 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 54.30 และ 49.30 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาประเทศผู้ผลิตรถยนต์ที่สำคัญ ได้แก่ จีน และสหรัฐอเมริกาพบว่า จีนมีการผลิตรถยนต์ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 (ม.ค.-มี.ค.) จำนวน 4,556,263 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.38 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งโลก และสหรัฐอเมริกามีการผลิตรถยนต์ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 (ม.ค.-มี.ค.) จำนวน 1,892,393 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.54 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งโลก สำหรับการจำหน่ายรถยนต์โลกในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 (ม.ค.-มี.ค.) มีการจำหน่ายรถยนต์ 17,075,568 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 26.68 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 4,165,504 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 25.95 และมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 12,910,064 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 26.93 เมื่อพิจารณาประเทศที่สำคัญ พบว่า จีนมีการจำหน่ายรถยนต์ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 (ม.ค.-มี.ค.) จำนวน 4,610,847 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27.00 ของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ทั้งโลก และสหรัฐอเมริกามีการจำหน่ายรถยนต์ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 (ม.ค.-มี.ค.) จำนวน 2,588,936 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.16 ของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ทั้งโลก
- อุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศจีน มีปริมาณการผลิตรถยนต์ในช่วงครึ่งปีแรก 2553 (ม.ค.-มิ.ย.) จำนวน 8,926,027 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 49.30 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 6,682,316 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.70 และการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 2,243,711 คันเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.80 สำหรับการจำหน่ายรถยนต์ในช่วงครึ่งปีแรก 2553 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 9,016,455คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 48.10 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 6,720,802 คันเพิ่มขึ้นร้อยละ 48.60 และการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 2,295,653 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.70
- อุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศสหรัฐอเมริกา มีปริมาณการผลิตรถยนต์ในช่วงครึ่งปีแรก2553 (ม.ค.-มิ.ย.) จำนวน 3,884,558 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 66.50 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 1,466,177 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.30 และการผลิตรถบรรทุก 2,418,381 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.70 สำหรับการจำหน่ายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2553 (ม.ค.-พ.ค.) จำนวน 4,703,287 คันเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 17.10 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 2,350,662 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.00 และการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 2,352,625 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.20ส่งออกร้อยละ 77.97 และการผลิตรถยนต์นั่งเพื่อการส่งออกร้อยละ 22.03 สำหรับรถยนต์นั่งที่มีการผลิตเพื่อส่งออกมากที่สุด ได้แก่ รถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,201-1,500 ซี.ซี. รองลงมาคือ รถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,501-1,800 ซี.ซี. และรถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 2,001-2,500 ซี.ซี. ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2553 มีการผลิตรถยนต์ จำนวน 386,153 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 103.12 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 94.12, 108.72 และ 82.08 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2553 ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.84 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.75 แต่มีการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 5.54 และ 0.30 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมรถยนต์
การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2553 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 769,082 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 97.66 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่งรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 99.00, 97.81 และ 65.93 ตามลำดับซึ่งจากปริมาณการผลิตรถยนต์โดยรวม เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 424,820 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 55.24 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (รวมรถยนต์ PPV) เพื่อการ
การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2553 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 356,692 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.13 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวม SUV เพิ่มขึ้นร้อยละ59.57, 46.75, 60.97 และ 64.57 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2553 มีการจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 189,890 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.57 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวม SUV เพิ่มขึ้นร้อยละ 67.08, 37.89, 68.20 และ 62.36 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2553 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.84 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวม SUV เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.37, 13.29,และ 9.69 ตามลำดับ แต่การจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ลดลงร้อยละ 0.37
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2553 (ม.ค.-มิ.ย.) มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 418,178 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 78.11 ถ้าคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 195,132.86 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรก 2552 ร้อยละ 80.15 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2553 มีปริมาณการส่งออก จำนวน 201,493 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 93,010.93 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 109.93 คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 106.97 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2553 ปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 7.01 คิดเป็นมูลค่าลดลงร้อยละ 8.92
จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2553 มีมูลค่า 105,505.50 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรกของปี 2552 ร้อยละ 82.76 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์นั่ง ได้แก่ ออสเตรเลียอินโดนีเซีย และซาอุดีอาระเบีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 22.51, 14.80 และ 9.51 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถยนต์นั่งไปออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และซาอุดีอาระเบีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 105.30, 324.68 และ 8.48 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกรถแวนและปิกอัพของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2553 มีมูลค่า 76,473.02 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรกของปี 2552 ร้อยละ 101.19 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถแวนและปิกอัพ ได้แก่ ออสเตรเลีย ชิลี และมาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 36.52, 4.96 และ 4.76 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถแวนและปิกอัพไปออสเตรเลีย ชิลี และมาเลเซีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 169.40, 2,052.75 และ 97.45 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2553 มีมูลค่า 16,308.96 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรกของปี 2552 ร้อยละ 28.52 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถบัสและรถบรรทุก ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย ออสเตรเลีย และลิเบีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 28.34, 15.56 และ 11.74 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถบัสและบรรทุกไปซาอุดีอาระเบีย และลิเบีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 92.47 และ 90.45 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถบัสและรถบรรทุกไปออสเตรเลีย มีมูลค่าลดลงร้อยละ 4.87
การนำเข้า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2553 (ม.ค.-มิ.ย.) มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก คิดเป็นมูลค่า 12,669.22 และ 8,498.03 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2552 พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 102.26 และ 62.80 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 6,440.04 และ 4,705.95 ล้านบาท ตามลำดับ
เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 129.69 และ 85.81 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกปี 2553 มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.39 และ 24.10 ตามลำดับ แหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรก 2553 ได้แก่ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 27.03, 26.57 และ 14.97 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์นั่งจาก อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 1,011.46, 71.73 และ 215.03 ตามลำดับ ส่วนแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรก 2553 ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 68.68, 12.96 และ 6.43 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 78.04, 259.85 และ 222.98 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมรถยนต์ครึ่งปีแรกปี 2553 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาสาเหตุสำคัญเนื่องจาก ภาพรวมเศรษฐกิจของโลกและของประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น สำหรับตลาดภายในประเทศได้รับผลดีจากการที่มีผู้ประกอบการมีการแนะนำรถยนต์ รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาด รวมทั้งรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ในส่วนของตลาดส่งออกผู้ประกอบการมีการปรับแผนการผลิตเพื่อรองรับตลาดส่งออก ที่เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดี การปรับตัวเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมรถยนต์ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากฐานที่ค่อนข้าง ต่ำในครึ่งปีแรก 2552 สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสสามปี 2553 คาดว่าขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของประเทศ และเศรษฐกิจโลก สำหรับตลาดในประเทศ ได้รับผลดีจากการแนะนำรถยนต์เข้าสู่ตลาดของผู้ประกอบการตั้งแต่ต้นปี 2553 ซึ่งบางรุ่นยังคงมียอดค้างส่งมอบ ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ในขณะที่ตลาดส่งออกคาดว่าจะได้รับผลดีจากการยกเว้นอากร หรือปรับลดอากรเหลือกร้อยละ 0 ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน จากข้อมูลที่ได้จากการสอบถามผู้ประกอบการ คาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์ในไตรมาสที่สาม ปี 2553 ประมาณ 414,000 คัน โดยเป็นการผลิตเพื่อการจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 42 และผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 58
สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย มีสัญญาณที่ดีโดยช่วงครึ่งปีแรก 2553 มีผู้ประกอบการ
รถยนต์ประกาศขยายการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ ได้แก่ 1) บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศลงทุนมูลค่ากว่า 15,000 ล้านบาท เพื่อสานต่อสามโครงการสำคัญ ได้แก่ โครงการพัฒนารถปิกอัพใหม่ โครงการผลิตรถเอนกประสงค์รุ่นใหม่ (Pickup Passenger Vehicle — PPV) และโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งโรงงานนี้จะเริ่มดำเนินการผลิตได้ตั้งแต่กลางปี 2554 เป็นต้นไป ในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง มีกำลังการผลิต 106,000 เครื่องต่อปีเครื่องยนต์ดีเซลที่ประกอบจากโรงงานใหม่นี้จะใช้กับรถปิกอัพ ใหม่และรถเอนกประสงค์ (PPV) เพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปตลาดโลก และ 2) บริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ ประกาศลงทุนมูลค่า 450 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (15,000 ล้านบาท) เพื่อสร้างโรงงานผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคลแห่งใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ มีความยืดหยุ่นสูง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในจังหวัดระยอง โดยมีกำลังการผลิตเบื้องต้นอยู่ที่150,000 คันต่อปี โรงงานแห่งใหม่นี้จะเริ่มผลิตรถฟอร์ด โฟกัส โมเดลใหม่ ในปี พ.ศ.2555 เพื่อจำหน่ายในประเทศ และส่งออกไปยังตลาดอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์
การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2553 (ม.ค.-มิ.ย.)มีจำนวน 976,722 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.63 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 928,811 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.36 แต่มีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 47,911 คัน ลดลงร้อยละ 33.02 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2553 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์จำนวน 495,287 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.59 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.25 แต่มีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ 36.51 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกปี 2553 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.88 โดยเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.37แต่มีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ 47.26
การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2553 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 933,215 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.68 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 429,270 คัน รถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ 468,783 คันและรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 35,162 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.08, 35.51 และ 7.41 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2553 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 466,800 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.02 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และรถจักรยานยนต์สกูตเตอร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.96 และ 34.52 ตามลำดับ แต่การจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ 23.05 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2553 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.08 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.82 แต่มีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ 6.64 และ 40.52 ตามลำดับ
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก2553 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 344,905 คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 59,301 คัน และ CKD จำนวน 285,604 ชุด) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.44 คิดเป็นมูลค่าการส่งออก มีมูลค่า 10,556.93 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 1.95 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2553 มีปริมาณการส่งออก 176,471 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 5,314.31 ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.67 คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.36 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2553 ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.77 คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.37 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์ในช่วงครึ่งปีแรก 2553 ได้แก่ สหราชอาณาจักร เวียดนาม และเนเธอร์แลนด์คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 23.29, 9.74 และ 9.69 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถจักรยานยนต์(CBU) ไปสหราชอาณาจักร เพิ่มขึ้นร้อยละ 129.96 แต่การส่งออกรถจักรยานยนต์(CBU) ไป เวียดนามและเนเธอร์แลนด์ ลดลงร้อยละ 12.78 และ 58.87 ตามลำดับ
การนำเข้า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2553 (ม.ค.-มิ.ย.) มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์คิดเป็นมูลค่า 219.75 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.92 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้ารถจักรยานยนต์ 124.14 ล้านบาทเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 100.40 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2552 มูลค่าการนำเข้ารถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.91 แหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรก 2553 ได้แก่ เยอรมนี เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 22.34, 18.79 และ 14.15 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถจักรยานยนต์จากเยอรมนี เวียดนามและสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.80, 1,367.94 และ 3.17 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ครึ่งปีแรกปี 2553 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อันเนื่องมาจากเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจภายในประเทศที่ฟื้นตัว สำหรับการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ภายในประเทศมีการขยายตัว ซึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจที่ดีขึ้นส่งผลให้ผู้บริโภคมีการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรปรับตัวดีขึ้นเช่นกันสำ หรับตลาดส่งออกที่มีการขยายตัว ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากมี ผู้ประกอบการรายใหญ่ส่งออกรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ไป ยุโรป ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในไตรฅมาสสามปี 2553 คาดว่าขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา จากข้อมูลที่ได้จากการสอบถามผู้ประกอบการ คาดว่าจะมีการผลิตรถจักรยานยนต์ (CBU) ในไตรมาสที่สาม ปี 2553 ประมาณ 476,000 คัน โดยเป็นการผลิตเพื่อการจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 92 และผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 8
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ ในช่วงครึ่งปีแรก 2553 ( ม.ค.-มิ.ย.) การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) มีมูลค่า 64,557.60 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2552 ร้อยละ 59.21 การส่งออกเครื่องยนต์มีมูลค่า 9,293.13 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก2552 ร้อยละ 95.10 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์มีมูลค่า 6,840.39 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2552 ร้อยละ 11.04 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2553 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) มีมูลค่า 33,201.82 ล้านบาท การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 5,106.56 ล้านบาท และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ มีมูลค่า 3,594.64 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) เครื่องยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.50, 73.42 และ 12.17 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2553 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) เครื่องยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.89, 21.97 และ 10.75 ตามลำดับ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2553 มีมูลค่า 78,878.24 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 51.20 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซียและอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 16.21, 11.53 และ 10.10 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปญี่ปุ่น มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 82.35, 34.24 และ 60.06 ตามลำดับ
การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ ในช่วงครึ่งปีแรก 2553 (ม.ค.-มิ.ย.) การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) มีมูลค่า 6,546.80 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.30 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 269.40 ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.37 ส่วนหนึ่งมาจากมีผู้ประกอบการรถจักรยานยนต์รายใหญ่ส่งออกชิ้นส่วนรถ จักรยานยนต์รุ่นใหม่ไปเวียดนาม และอินโดนีเซีย เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2553 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) มีมูลค่า 2,840.80 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.59 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์มีมูลค่า 136.40 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.18 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2553 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) ลดลงร้อยละ21.44 แต่การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.56 จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2553 มีมูลค่า 9,510.31 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 19.42 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนามและฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 25.84, 17.27 และ 9.90 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปอินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.19, 27.35 และ6.85 ตามลำดับ
การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2553 (ม.ค.-มิ.ย.) มีมูลค่า 87,328.26 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2552เพิ่มขึ้นร้อยละ 105.87 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่สองของปี 2553 ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ มีมูลค่า43,644.44 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 100.53 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2553 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ลดลงร้อยละ 0.09 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรก 2553 ได้แก่ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ64.56, 6.67 และ 5.72 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 128.37, 102.43 และ 61.91 ตามลำดับ
การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2553 (ม.ค.-มิ.ย.) มีมูลค่า 6,808.95 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.00 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่สองของปี 2552 ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ มีมูลค่า 3,340.93 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.09 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2553 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ลดลงร้อยละ 3.66แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรก 2553 ได้แก่ ญี่ปุ่น, จีนและอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 33.88, 19.09 และ 9.44 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากญี่ปุ่น, จีน และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.98, 42.86 และ 89.93 ตามลำดับ
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-http://www.ryt9.com/s/oie/971734

No comments:

Post a Comment